? FAQ คำถามที่พบบ่อย

ข้อเสนอแนะสำหรับประเด็นข้อซักถามจากส่วนการเงินและบัญชี

A        : ข้อเสนอแนะของหน่วยตรวจสอบภายใน 

การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 22 กำหนดให้รายงานขอซื้อขอจ้าง มีรายการดังนี้

1) เหตุผลและความจำเป็น

2) ขอบเขตงาน

3) ราคากลาง

4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง

5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ

6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้าง

7) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ

8) ข้อเสนออื่นๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น

การซื้อหรือจ้างกรณีจำเป็นเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (ค) หรือกรณีมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ง) หรือกรณีการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 96 วรรคสอง ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ 

    ทั้งนี้แนวการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนผังการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานได้รับมอบอำนาจโดยวิธีเฉพาะเจาะ (2) (ข) กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท และแบบควบคุมความถูกต้องของเอกสาร ใบขอซื้อ/ขอจ้าง (PR) วิธีเฉพาะเจาะจง กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000   

การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 22 กำหนดให้รายงานขอซื้อขอจ้าง มีรายการดังนี้

1) เหตุผลและความจำเป็น

2) ขอบเขตงาน

3) ราคากลาง

4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง

5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ

6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้าง

7) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ

8) ข้อเสนออื่นๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น

การซื้อหรือจ้างกรณีจำเป็นเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (ค) หรือกรณีมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ง) หรือกรณีการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 96 วรรคสอง ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ 

    ทั้งนี้แนวการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนผังการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานได้รับมอบอำนาจโดยวิธีเฉพาะเจาะ (2) (ข) กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท และแบบควบคุมความถูกต้องของเอกสาร ใบขอซื้อ/ขอจ้าง (PR) วิธีเฉพาะเจาะจง กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 

 

A        : ข้อเสนอแนะของหน่วยตรวจสอบภายใน 

   การขอซื้อขอจ้างย้อนหลังทำได้ด้วยเหตุผลตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง การซื้อหรือจ้างกรณีจำเป็นเร่งด่วนอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้  หรือมาตรา 56 วรรคสอง (ง) กรณีมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน โดยจัดทำรายงานผลจัดซื้อ พ.7 หรือ พ.7-1

A        : ข้อเสนอแนะของหน่วยตรวจสอบภายใน 

  กรณีการจัดซื้อวิธีเฉพาะเจาะจงไม่สามารถจัดซื้อสูงกว่าราคากลางได้

เกี่ยวกับงานสวัสดิการ

A        : ให้พนักงานยื่นคำขอหนังสือรับรองการให้เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามแบบที่กำหนดต่อส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร

A        : ค่าสวัสดิการค่ารักษาโรคฟันและโรคเหงือกสำหรับพนักงานและครอบครัวพนักงาน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล จากมหาวิทยาลัยได้เฉพาะเมื่อเป็นการรักษาพยาบาลเท่านั้น ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลของเอกชน (โรงพยาบาลเอกชน/คลินิก) ที่มหาวิทยาลัยกำหนด วงเงินไม่เกิน 5,000 บาท/ปี

A        : อัตราค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และสถานพยาบาลของทางราชการประเภทผู้ป่วยในพนักงาน

  1. ค่าห้องและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ยกเว้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ตามที่จ่ายจริง
  2. ค่าห้องผู้ป่วยหนักและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 3,000 บาท ยกเว้นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยตามที่จ่ายจริง

ครอบครัวของพนักงาน

  1. ค่าห้องและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 1,000 บาท ยกเว้นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 1,800 บาท
  2. ค่าห้องผู้ป่วยหนักและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 3,000 บาท

อัตราค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลเอกชน

พนักงาน

  1. ค่าห้องและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,500 บาท
  2. ค่าห้องผู้ป่วยหนักและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 3,000 บาท

    ครอบครัวของพนักงาน

    ให้ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

A        : 1. ค่าพาหนะเดินทางไปและกลับตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท หากกรณีประสงค์เบิกค่าพาหนะเดินทางเหมาจ่าย คิดค่าเดินทางตามระยะทาง จริง กิโลเมตรละ 5 บาท ทั้งนี้ รวมแล้วไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท (โดยแนบใบเสร็จรับเงิน/ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน/เอกสารแสดงระยะทาง GOOGLE MAP)

             2. ค่าที่พัก ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 1,400 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 วันต่อครั้ง และจะต้องเป็นกรณีที่พนักงานผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลไม่มีที่พักในเขตที่ตั้งของสถานพยาบาลที่ให้การรักษาหรือมีที่พักแต่การเดินทางระหว่างที่พักกับสถานพยาบาลไม่สะดวกเท่านั้น โดยแนบใบเสร็จรับเงิน/ใบแสดงรายละเอียดการเข้าพักประกอบการเบิกจ่าย

A        : – กรณีพนักงานหรือครอบครัวพนักงานที่พักอาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้แพทย์โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วินิจฉัยและออกใบส่งตัวเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่น ๆ พร้อมแนบใบส่งตัวประกอบการเบิกด้วยทุกครั้ง (กรณีใบส่งตัวมีกำหนดระยะเวลา  สามารถสำเนาใบส่งตัวประกอบการเบิกในแต่ละครั้งได้จนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดในการส่งตัว) ยกเว้น กรณีพนักงานหรือครอบครัวพนักงานที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลของเอกชนได้ โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รับบริการที่สามารถแสดงว่าเป็นการรักษากรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินจริง ทั้งนี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฏหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เป็นไปตามประกาศ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่องการเข้ารักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2564 ข้อ 5 (1)

 – กรณีพนักงานหรือครอบครัวพนักงานที่ไม่ได้พักอาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่ต้องมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์

A        : ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พนักงานได้จ่ายเงินไปแล้ว เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นอย่างอื่นจากอธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย

เกี่ยวกับค่าล่วงเวลา

A        :  ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการจัดเวลาทำงานและการทำงานล่วงเวลา พ.ศ. 2563 หมวด 2 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า กรณีขออนุมัติการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา ย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเสนอรองอธิการบดีที่กำกับดูแลพิจารณาอนุมัติ

          ดังนั้นรองอธิการบดีที่กำกับดูแลหน่วยงาน จึงสามารถอนุมัติได้ตามระเบียบฯ เท่านั้น กรณีขออนุมัติเบิกย้อนหลังเกิน 5 วันทำการ หน่วยงานต้องเสนออธิการบดีพิจารณาอนุมัติ วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 6 ของระเบียบฯ ดังกล่าว

A        :  ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการจัดเวลาทำงานและการทำงานล่วงเวลา พ.ศ. 2563 หมวด 4 ข้อ 18 กำหนดไว้ว่า กรณีการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา ให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

          ซึ่งหากหน่วยงานส่งมาเบิกเกินวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ถือว่าปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ฉะนั้นต้องเสนออธิการบดีพิจารณาเป็นกรณีไป

A        : ตามระเบียบการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลาฯ ข้อ 11 “การขออนุมัติการทำงานล่วงเวลา หัวหน้าหน่วยงานต้องวางแผนการทำงานล่วงเวลา และขออนุมัติการทำงานล่วงเวลาล่วงหน้า กรณีมีความจำเป็น หรือเร่งด่วนสามารถขออนุมัติการทำงานย้อนหลังได้ ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเสนอต่อรองอธิการบดีที่กำกับดูแลพิจารณาอนุมัติ” นั้น

ตามข้อความในระเบียบ เขียนว่า “ขออนุมัติการทำงานย้อนหลังได้ ไม่เกิน 5 วันทำการ” จึงให้เริ่มจากวันเริ่มทำงานล่วงเวลาวันแรก ถึง วันที่ขออนุมัติการทำงานย้อนหลัง ไม่เกิน 5 วันทำการค่ะ สำหรับการพิจารณาอนุมัติโดยรองอธิการบดีที่กำกับดูแลนั้น ตามระเบียบไม่ได้ระบุไว้ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรล่าช้าจนเกินไป

ทั้งนี้ ระเบียบฯ ดังกล่าว อนุโลมให้มีการขออนุมัติการทำงานย้อนหลังได้กรณีมีความจำเป็น หรือเร่งด่วนเท่านั้น หากมีการเริ่มทำงานล่วงเวลาแล้ว หัวหน้าหน่วยงานควรเร่งขออนุมัติทำงานล่วงเวลาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอครบ 5 วันทำการ

เกี่ยวกับการเบิกจ่าย

A        : เบิกจ่ายได้โดยผู้ประกอบการต้องระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนดังนี้

  1. ใบเสร็จรับเงินออกในนามมหาวิทยาลัย
  2. ระบุรายการในใบเสร็จรับเงิน

            -ชื่อผู้เข้าพัก

            -วันที่เข้า-ออก

            -ราคา/ห้อง

A        : แบ่งจ่ายตามสันส่วนตามประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรการฝึกอบรม พ.ศ.2563 ข้อที่ 4.1(2)

A        : ตามประกาศเรื่องอัตราค่าสมนาคุณวิทยากร จ่ายค่าตอบแทนในอัตราไม่เกินชั่วโมงละ 1,000 บาท แต่ทั้งนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย ซึ่งเป็นอำนาจของรองอธิการบดีในการอนุมัติได้ โดยทั้งนี้ให้อยู่ในงบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปี

A        :  1.ใบสำคัญรับเงินโดยระบุช่องผู้รับเงินเป็นโอนเงินเข้าบัญชี

              2.สลิปการโอน

              3.หนังสือเชิญ หรือ คำสั่งแต่งตั้ง

A        : เบิกค่ารับรองได้เฉพาะผู้เข้าร่วม ในห้องอบรม ห้องประชุมสัมนาและกิจกรรมอื่น ที่หน่วยงานผู้ดำเนินการได้จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยอัตราการเบิกจ่าย  เป็นไปตามข้อ ๖.๓  ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง หลักลัเกณฑ์ การเบิกเงินค่ารับรอง ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม พ.ศ.๒๕๖๒

A        : ต้องจัดทำรายงานพ7 รวมทั้งการเช่ารถรวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

A        : ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดซึ่งผู้รับเงินรับรอง ตามประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน พ.ศ. 2563 ข้อที่ 8.2.1

A        :เบิกได้ตามที่จ่ายจริง 500/มื้อ ตามประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกเงินค่ารับรอง ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2562 ข้อที่ 6.1

A        : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงโดยทางรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบินไม่เกินชั้นประหยัดไม่เกิน 1,800/เที่ยวบิน ตามประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตรใช้จ่ายในการเดิทางไปปฎิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2562 บัญชีหมายเลข 1 ข้อที่ 4

A        : หากในตัวโครงการ/กิจกรรมได้ระบุรายชื่อและรหัสนักศึกษาไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องแนบ ฉะนั้นควรระบุตั้งแต่ตอนขออนุมัติโครงการ/กิจกรรม

A        : คนที่พักเป็นเลขคี่ เบิกค่าที่พักได้ตามสิทธิ์ของพนักงาน  เช่น

  1. อาจารย์/หัวหน้าส่วน 1,600บาท/คืน
     2.  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1,400 บาท/คืน   3. นักศึกษา 1,000 บาท/คืน

A        : กรณีปฎิบัติงานตั้งแต่ 12 ชั่วโมงเป็นต้นไปเบิกเบี้ยเลี้ยได้ดังนี้มหาวิทยาลัยจัดเลี้ยง 1 มื้อ เบิกได้ในอัตรา 2 ใน 3มหาวิทยาลัยจัดเลี้ยง 2 มื้อ เบิกได้ในอัตรา 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยจัดเลี้ยง 3 มื้อ  งดเบิก

A        : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงโดยทางรถยนต์ รถทัวร์ รถไฟ ไม่เกินตู้ปรับอากาศนอนชั้น 2 หรือเครื่องบินซึ่งถัวเฉลี่ย 2 ขา ไปกลับไม่เกินอัตรารถทัวร์หรือรถไฟที่กำหนด

A        : เดินทางได้ล่วงหน้า 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง และให้เดินทางกลับถึงสถานที่อยู่ประจำหรือมหาวิทยาลัยภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เสร็จสิ้นภารกิจ

A        : ภายใน 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมง และให้เดินทางกลับถึงสถานที่อยู่ประจำหรือมหาวิทยาลัยภายใน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาเสร็จสิ้นภารกิจ